วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้ง1

วันที่ 6 ธันวาคม 2554



บรรยากาศในห้องเรียน
-เปิดเรียนวันแรกอากาศดีมากเลยในห้องเรียน
-ห้องเรียนสะอาดโต๊ะเป็นระเบียบเรียบร้อยดี
เนื้อหาที่เรียนวันแรก
-อาจารย์อธิบายการจัดรูปแบบการบูรณาการเรียนการสอน
-อาจารยอธิบายถึงรูปแบบการสอนแบบต่างๆ
-อาจารย์แรกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นกับนักศึกษา
-อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับมาตรฐานของการศีกษา
กิจกรรมในห้องเรียน
-นักศึกษาต้องรุ้อะไรบ้างเกี่ยวกับวิชานี้
1.เราต้องจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ(ผ่านกิจกรรม)
2.หลักสูตรที่ใช้ในการสอน หน่วยการเรียน สาระก
3.ปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการวัดเด็ก คือ พัฒนาการของเด็การเรียนรู้ใช้ในหลักสูตร
4.อาจารย์ให้นักศึกษาจัดกลุ่มกลุ่มละ 6 คน 4 กลุ่ม
5.มาตรฐานทางคณิตศาสตร์ คือ เกณฑ์ขั้นต่ำ
6.คณิตศาสตร์ตามเกณฑ์มาตรฐานมี 4 ระดับ 3 ขวบ 4 ขวบ 5 ขวบ 6 ขวบ
งานที่อาจารย์สั่ง
-อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มไปสำรวจห้องสมุดว่ามีหนังสือเกี่ยวกับคณิตสาสตร์กี่เล่ม
-อาจารย์ให้นักศึกษาสร้างบล็อค
-สรุปมาตรฐานทางคณิตศาสตร์ลงในบล็อค
สรุปมาตรฐานทางคณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐาน 1.2 เข้ใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่างๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน 1.3 ใช้การประมาณค่าในการคำนาณและแก้ไขปัญหาได้
มาตรฐาน 1.4 เข้าใจในระบบจำนวนและสามารถนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้ได้
สาระที่ 2 การวัด
มาตรฐาน 2.1 เข้าใจถึงพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด
มาตรฐาน 2.2 วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดได้
มาตรฐาน 2.3 แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัดได้
สาระที่ 3 เรขาคณิต
มาตรฐาน 3.1 อธิบายและวิเคราะห์รูปเลขาคณิตสองมิติและสามมิติ
มาตรฐาน 3.2 ในการนึกภาพ(visualizetion)ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิและใช้แบบจำลองทางเลขาคณิต ในการแก้ปัญหาได้
สาระที่ 4 พืชคณิต
มาตรฐาน 4.1 อธิบายและวิเคราะห์แบบรูปความสัมพันธ์และฟังก์ชั้นต่างๆได้
มาตรฐาน 4.2 .ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ และแบบจำลองทางคณิตศาสตร์อื่นๆ แทนสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจนแปลความหมายและนำไปใช้แก้ปัญหาได้
สาระที่ 5 การวิเคราะข้อมุลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน 5.1 เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้
มาตรฐานที่ 5.2 ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล
มาตรฐานที่ 5.3 ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้
สาระที่ 6 ทักษะ/กระบวนการทางวิทยา
มาตรฐาน 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน 6.2 มีความสามารถในการให้เหตุผล
มาตรฐาน 6.3 มีความสามรถในการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ
มาตรฐาน 6.4 มีความสามารถในการเชื่อมโยงความรุ้ต่างๆทางคณิตศาสตร์



บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 2
วันที่ 13 เดือน ธันวาคม 2554
บรรยากาศในห้องเรียน
วันนี้อากาศเย็นสบาย ห้องเรียนสะอาด โต๊ะเก้าอี้เรียบร้อยดี
เรื่องที่เรียนในวันนี้
สถานที่ ระยะเวลา การเปรียบเทียบ การบวกการนับ
เครืองมือที่ใช้สื่อสารคือ ภาษา และคณิตศาสตร์
คำถามที่อาจารย์ใช้ในชั้นเรียน
-ในชีวิตประจำวันของคุณมีอะไรบ้าง
เครื่องมือในการเรียนรู้คือ คณิตศาสตร์
กิจกรรม
-นักศึกษาหาสิ่งที่เกี่บวกับคณิตศาสตร์ในห้องคุณสมบัติของสี่เหลี่ยม
ส่งงานวันอาทิตย์ที่ 6เดือนมกราคม 2554 ส่งรายงานหนังสื่อเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
มาตรฐาน คือ การวัดคุณภาพมาตรฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์
คำถาม
เครื่องมือคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง
สรุปคณิตศาสตร์จากอาจารย์
-การทำให้เด็กมีความสัมพันธ์กับคณิตศาสตร์
-จัดกิจกรรมให้เด็กลงชื่อตามลำดับ
-เกณฑ์มาตรฐาน
1.มาถึงลงชื่อ
2.ลงชื่อ
กิจกรรมในห้องเรียน
อาจารย์ให้นักศึกษาจัดกลุ่มกลุ่มละ 5 คน
งานที่ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มทำ
-ให้นักศึกษาไปเอาตัวอย่างกลุ่มละ 1 หน่วย
-แสดงความคิดเห็นจุดประสงค์เป็นกลุ่ม
-จำแนกและเปรียบเทียบ
-การจำแนก ความเหมือนความต่าง
-จำนวนน้อยมาก
-รู้ค่าจำนวน 1-4
การเปรียบเทียบ
ตัวอย่าง เช่น ให้เด็กดูดอกไม้พุทธรักษาสังเกต กลิ่นและเปรียบเทียบขนาด กลุ่มแรกหน่วย น้ำ สังเกตปริมาณมากน้อยของน้ำในขวด 2 ขวดที่ปิดกับเปิดฝา สอนเรื่องการระเหยของน้ำ สอนเรื่องคุณสมบัติของน้ำ การนับจำนวนสมาชิกในกลุ่ม การให้เด็กแบ่งกลุ่ม
การเปรียบเทียบ กลิ่น (หอม หอมมาก หอมน้อย เหม็น )
สี (สีเข้ม สีอ่อน สีจาง )
-รูปร่างรูปทรง
ติดรูปต่างๆในสถานที่ชุมชน
-พื้นฐานการบวก (หน่วยนกน้อย)
-ลำดับ (หน่วยฤดูร้อน) ให้นักศึกษาปฎิบัติตามครูเป็นลำดับ
-เราจะทำอะไรให้กับเด็กเพื่อให้เด็กได้ประสบการณ์
ครูนำรูปถ่าย 2 รูปให้เด็กดู
จำนวน
คณิตสาสตร์เป็นเครื่องมือ
การเรียนรู้ในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
ความสำคัญของคณิตศาสตร์คือ
เป็นเรื่องที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน
คณิตศาสตร์อนุบาลกับประถมแตกต่างกันอย่างไร
คณิตศาสตร์เชิงเหตุผล การทำงานของสมอง
การเรีียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ
เด็กแรกเกิด-2 ปี การรับรู้การใช้เหตุผลได้บ้าง แต่ยังไม่สมบูรณ์
เป็นภาพสัญลักษณ์
สติัปัญญาการรับรู้ 2-4 ขั้นก่อนปฎิบัติการเริ่มใช้ประโยชน์ได้ยาวขึ้น
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
มาตรฐานที่เกี่ยวกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของสภาครูคณิตศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา เป็นแนวทางในการกำหนดสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ซึ่งสาระการเรียนรู้ที่สอนในระดับอนุบาล อยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาสติปัญญาของเด็กอนุบาลโดยกำหนดไว้ในหลักสูตรอนุบาลถึงเกรด 4 ดังนี้ (สภาครูคณิตศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา. 1998 : 118 )
1. การแก้ปัญหา
2. การติดต่อสื่อสาร
3. การมีเหตุผล
4. การเชื่อมโยง
5. การประมาณคำตอบ
6. ความรู้สึกเกี่ยวกับจำนวนและตัวเลข
7. ความคิดรวบยอดในการดำเนินการกับจำนวนนับ
8. การคำนวณจำนวนนับและศูนย์
9. ความรู้สึกเกี่ยวกับเรขาคณิตและมิติสัมพันธ์
10. การวัด
11. สถิติ และความน่าจะเป็น
12. เศษส่วน และทศนิยม
13. แบบรูปและความสัมพันธ์
Wortham (1994 : 23 - 24) ได้นำสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ที่สภาครูคณิตศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา กำหนดไว้มาจัดเป็นโปรแกรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษาตอนต้น โดยมีขอบข่ายของสาระการเรียนรู้ทั้งหมด 6 เรื่อง คือ
1. จำนวนและตัวเลข
1.1 การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
1.2 การนับ
1.3 การใช้ตัวเลข
1.4 การจัดลำดับจำนวน
1.5 อันดับที่
1.6 ค่าของตัวเลข
1.7 การอ่านและการเขียนตัวเลข
2. การจัดกระทำกับจำนวนนับ และศูนย์
2.1 การเพิ่มการบวก
2.2 การหักออก การลบ
2.3 การคูณ
2.4 การหาร
3. จำนวนตรรกะ
3.1 เศษส่วน
3.2 ทศนิยม
3.3 จำนวนคู่ จำนวนคี่
3.4 พหุคูณ และตัวประกอบ
3.5 จำนวนเฉพาะ
4. การวัด
4.1 ความยาว
4.2 ความกว้าง
4.3 ความสูง
4.4 น้ำหนัก
4.5 ปริมาตร
4.6 เวลา
4.7 เงิน
5. เรขาคณิต
6. การแก้ปัญหา
6.1 ความน่าจะเป็น
6.2 การจำแนกประเภท
6.3 ความคล้ายและความต่าง
6.4 ความสัมพันธ์บางส่วนทั้งหมด
6.5 การทำการแก้ปัญหา
6.6 การประมาณคำตอบ
6.7 การค้นหาข้อมูล
6.8 การสร้างแบบรูป
6.9 การทำนาย
จงกล เปรมทรัพย์ (http://info.arc.dusit.ac.th/iknowledge/EducationShelf.nsp.2548) กล่าวถึงขอบข่ายหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับอนุบาลควรประกอบด้วยสาระการเรียนรู้ดังต่อไปนี้
1. การนับ (Counting) หมายถึง คณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1 – 10 หรือมากกว่านั้น ฯลฯ
2. ตัวเลข (Numeration) หมายถึง การให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวันด้วยการให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยวกับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยครูเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรมซึ่งอาจมีการเปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วย เช่น มากกว่า น้อยกว่า ฯลฯ
3. การจับคู่ (Matching) หมายถึง การฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่างๆและจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกัน หรืออยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท (Classification) หมายถึง การฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่างกันหรือเหมือนกันในบางเรื่องและสามารถจัดเป็นประเภทต่างๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ (Comparing) โดยเด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ในลักษณะการเปรียบเทียบ เช่น ยาวกว่าสั้นกว่าหนักกว่า เบากว่า ฯลฯ
6. การจัดลำดับ (Ordering) หมายถึง การจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ตามคำสั่งหรือตามกฎเท่านั้น เช่น จัดดินสอ 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั้นไปยาว ฯลฯ
7. รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and space) นอกจากการจัดให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตามปกติแล้ว ครูยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลมสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึก ตื้น กว้าง และแคบ
8. การวัด (Measurement) ด้วยการให้เด็กได้มีโอกาสลงมือวัดด้วยตนเอง เพื่อรู้จักความยาวและระยะทาง รู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อนด้วย
9. เซท (Set) เป็นการสอนเรื่องเซทอย่างง่ายๆ จากสิ่งรอบๆ ตัว และมีการเชื่อมโยงกับสภาพรวมเช่น ช้อนกับส้อมถือว่าเป็นหนึ่งเซท หรือจากหน่วยการสอนเซทของสัตว์ เซทของผลไม้ เซทของเครื่องใช้ ฯลฯ
10. เศษส่วน (Fraction) โดยปกติแล้วการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถมปีที่ 1 แต่ครูปฐมวัยสามารถสอนแก่เด็กปฐมวัยได้โดยเน้นส่วนรวม (The whole object) ให้เด็กเห็นก่อน ด้วยการลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีมโนภาพเกี่ยวกับครึ่ง ( ½ )
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning) หมายถึง การพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลายและพัฒนาการจำแนกด้วยสายตา ด้วยการให้เด็กฝึกสังเกตฝึกทำตามแบบและต่อให้สมบูรณ์
12. การอนุรักษ์ (Conservation) เด็กปฐมวัยในช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ครูอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง ด้วยการให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงจุดมุ่งหมายของการสอนเรื่องนี้คือเพื่อให้เด็กมีพื้นฐานเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่าปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม